องค์ประกอบเชิงวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย

ความเป็นมา

การนำระบบพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยมาบังคับใช้กับทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิด ความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย นั้นองค์ประกอบเชิงวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ที่กำหนดไว้ในพิกัดจำเป็นต้องถูกต้องตามหลักวิชาการและทันต่อสภาพความเป็น จริงที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยจึงจะส่งผลให้ ผู้เอาประกันภัยเสียเบี้ยประกันอัคคีภัยตามสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงของ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยทั้งความเสี่ยงภัยภายใน ที่เกิดจากลักษณะสิ่งปลูกสร้างลักษณะการใช้งานของอาคารและที่ตั้งของ ทรัพย์สินเองหรือความเสี่ยงที่เกิดจากภายนอก การกำหนดเขตให้บริษัทประกันภัยรับประกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ใช้เป็นมาตรการป้องกันภัยจากภายนอก และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันอีกทางหนึ่งด้วย

อีกประการหนึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มีผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองไปอย่างรวดเร็วในขณะที่กฎหมาย ควบคุมอาคารที่มีอยู่ในปัจจุบันยังล้าสมัย ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยอาคารโดยเฉพาะระบบการป้องกันอัคคีภัย น้อยไปจึงยังไม่สามารถคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งๆที่เป็นความเสี่ยงที่สามารถบรรเทาได้ บุคคลในวงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาปนิก และวิศวกร เริ่มมองเห็นความสำคัญของการประกันภัย โดยกรมการประกันภัยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย รวมทั้งมาตรการต่างๆที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนจัดให้มีระบบความ ปลอดภัยในอาคาร ลดความเสี่ยงต่ออัคคีภัยลงได้

กรมการประกันภัย ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงต่ออัคคีภัย จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุง พิกัดอัตราเบี้ยเบี้ยประกันอัคคีภัย เพื่อให้การปรับปรุงครบวงจรทุกองค์ประกอบในการจัดทำพิกัด เพราะเป็นการรื้อทั้งระบบ ครั้งแรกของกรมการประกันภัย จึงมีคณะทำงานกลุ่มย่อยทบทวนองค์ประกอบเชิงวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมในการ กำหนด ลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง การกำหนดระดับความเสี่ยงภัยของท้องที่ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลถึงการพิจารณากำหนดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ให้ถูกต้องตามสภาพเสี่ยงภัยที่แท้จริง และคณะทำงานกลุ่มย่อยทบทวนการกำหนดประเภท และส่วนลดอุปกรณ์ดับเพลิง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย จัดให้มีระบบป้องกันเพลิงไหม้หรือระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่นระบบเครื่องพรมน้ำดับเพลิงหรือระบบดับเพลิงอัตโนมัติหรือระบบหัวกระจาย น้ำดับเพลิง (automatic sprinkle system) หรือระบบอื่นที่เทียบเท่าที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองทันทีเมื่อมีเพลิงไหม้ โดยให้สามารถทำงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทุกชั้น จะมีอัตราส่วนลดเบี้ยประกันอัคคีภัย ได้ถึงร้อยละ ห้าสิบ

ขณะนี้คณะทำงานกลุ่มย่อยได้ดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากตัวแทนของ ส่วนราชการที่กำกับดูแลงานด้านความปลอดภัยในอาคารให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ตัวแทนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ตัวแทนจากสมาคม สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และตัวแทนจากสมาคมประกันวินาศภัย นับเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่มีการระดมมันสมองจากบุคคลากรทุกสายอาชีพที่ เกี่ยวข้องสามารถสรุปข้อกำหนดและมาตรการต่างๆ ซึ่งเป็นผลให้เกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นอย่างยิ่ง

องค์ประกอบเชิงวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ที่มีความสำคัญกับพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องกำหนดใหม่มีดังนี้

การกำหนดเขตการรับประกันอัคคีภัย

เขตการรับประกันอัคคีภัย คือพื้นที่บริเวณหรืออาคารที่นายทะเบียนกำหนดให้เป็นวินาศภัยอันเดียวกัน หมายความว่า เมื่อเกิดอัคคีภัยแล้วอาจจะไหม้หมดทั้งพื้นที่บริเวณแต่ต้องไม่ไหม้ลุกลาม ออกนอกเขตไปยังเขตอื่นโดยอาศัยแนวต้านไฟเป็นหลัก วัตถุประสงค์ของการกำหนดเขตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับธุรกิจประกัน อัคคีภัยทรัพย์สิน ในแต่ละเขตการรับประกันอัคคีภัย มีจำนวนเงินการเอาประกันอัคคีภัยไม่เกินร้อยละสิบของเงินกองทุนของบริษัท ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินนั้นแล้ว จะไม่กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทประกันภัย

การขยายตัวของชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองสำคัญใน ภูมิภาคกำลังเข้าสู่ยุคการขยายตัว เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ทั้งนี้เพราะเมืองเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งของการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสภาพทางกายภาพ ของเมืองมีการเปลี่ยนแปลงมีการวางผังเมืองเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา เมือง สิ่งปลูกสร้างขยายตัวในแนวตั้ง และซับซ้อนมากขึ้นความจำเป็นที่ต้องกำหนดเขตเพิ่มมีมากขึ้น เพราะเป็นการส่งเสริมให้บริษัทสามารถรับประกันภัย ตามที่กฎหมายกำหนดได้มากขึ้นส่งผลดีต่อธุรกิจประกันภัยการขยายตัวของชุมชนใน แนวตั้งมีอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เกิดขึ้นมากมาย ความเสี่ยงต่ออัคคีภัยเปลี่ยนแปลงจากแนวราบมาเป็นแนวตั้งก็ยิ่งมีความจำเป็น ต้องศึกษาหลักวิชาการ กำหนดขนาดของแนวต้านไฟที่เป็นมาตรฐานสามารถกันไฟได้

อีกประการหนึ่งตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 33 บังคับให้อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะต้องมีถนน หรือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร จึงทำให้อาคารเหล่านี้มีลักษณะเป็นภัยโดดเดี่ยว และถือเป็น หนึ่งเขตการรับประกันอัคคีภัย ระบบการป้องกัน และระงับอัคคีภัยภายในอาคารที่กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 บังคับต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงแบบอัตโนมัติเช่น sprinkler systemหรือระบบอื่นที่เทียบเท่า โดยให้สามารถทำงาน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทุกชั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาให้สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อมีเพลิงไหม้

ปัจจุบันกรมการประกันภัย ได้ประกาศกำหนดเขตการรับประกันอัคคีภัยทั่วประเทศ 4,928 เขตเป็นเขตในกรุงเทพมหานคร 1,552 เขตและในภูมิภาค 3,376 เขต

การกำหนดชั้นของเมือง

ชั้นของเมือง คือระดับความเสี่ยงต่ออัคคีภัยของเขตการรับประกันอัคคีภัยเนื่องสภาพสิ่ง ปลูกสร้าง และสภาพแวดล้อม ทำให้เขตมีความเสี่ยงภัยไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการทนไฟของสิ่งปลูกสร้างในเขตนั้นๆ การป้องกันอัคคีภัยมิให้เกิดขึ้น หรือเมื่อเกิดอัคคีภัยแล้วสามารถควบคุมและระงับอัคคีภัยได้เพียงใด นั่นคือองค์ประกอบในการพิจารณาผลของการจัดชั้นของเมือง เป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ให้เสียเบี้ยประกันอัคคีภัยตามสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงของทรัพย์สิน

การกำหนดชั้นของเมืองในปัจจุบันมี 2 ระบบคือ

ระบบที่ 1 ใช้กับท้องที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองใหญ่ในภูมิภาคที่นายทะเบียนกำหนด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. เขตธรรมดาทั่วไป หมายถึงเขตการรับประกันอัคคีภัย ที่มีสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วย วัสดุทนไฟหรือต้านไฟได้ไม้น้อยกว่าร้อยละ แปดสิบของสิ่งปลูกสร้างภายในเขต และสิ่งปลูกสร้าง ว่างถึงหนาแน่นปานกลาง
  2. เขตอันตรายชั้น ก หมายถึงเขตการรับประกันภัยที่มีสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยไม้ หรือวัสดุติดไฟร้อยละห้าสิบถึงแปดสิบ ของสิ่งปลูกสร้างภายในเขต และสิ่งปลูกสร้างมีความหนาแน่น
  3. เขตอันตรายชั้น ข หมายถึงเขตการรับประกันอัคคีภัย ที่มีสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยไม้หรือวัสดุติดไฟมากกว่าร้อยละแปดสิบ ของสิ่งปลูกสร้างภายในเขต และสิ่งปลูกสร้างมีความหนาแน่นมาก รถดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้

ระบบที่ 2 ใช้กับท้องที่ในส่วนภูมิภาคทั่วไป

ด้วยเหตุที่เมืองในภูมิภาคของประเทศไทยชุมชนเมืองได้รับการพัฒนาแตกต่าง กันค่อนข้างมากทั้งทางด้านผังเมือง ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ เช่นการบรรเทาสาธารณภัย และสภาพแวดล้อม พรบ.ควบคุมอาคารใช้บังคับเฉพาะภายในเขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลเท่านั้นทำให้ไม่สามารถพัฒนาเมืองอย่างมีระบบได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวการกำหนดชั้นของเมืองจำเป็นต้องให้สอดคล้องกับสภาพเมือง ที่มีความแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

ปัจจัยหลักและความสำคัญที่นำมาพิจารณา

  1. ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่สิ่งปลูกสร้างและความหนาแน่น ซึ่งมีผลต่อการลุกลามของไฟภายในเขต
  2. แนวต้านไฟ ได้แก่ แนวทางรถไฟ แม่น้ำ ลำคลอง ป้องกันมิให้ภัยจากภายนอกลุกลามเข้ามาในเขต
  3. การระงับอัคคีภัย ได้แก่การดับเพลิงสาธารณะ และแหล่งน้ำ

หลักการดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาให้คะแนนความบกพร่องของปัจจัยหลักของการพิจารณากำหนดระดับความเสี่ยง ภัยของท้องที่ ในส่วนภูมิภาคตั้งแต่ประกาศนายทะเบียนฯประกาศบังคับใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 นับว่าเป็นเกณฑ์ที่ประสบผลสำเร็จดีพอใช้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยได้ในระยะหนึ่ง

เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดชั้นของเมืองใหม่

ปัจจุบันปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนา การขยายตัวของเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีระบบขึ้นเกิดชุมชนเมืองขึ้นมากโดยเฉพาะ ในส่วนภูมิภาคที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำความเจริญ และกระจายรายได้สู่ภูมิภาค การขยายตัวในภูมิภาค ยังเป็นการขยายตัวในแนวราบ ความเจริญบางท้องที่ขยายออกนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาล การกำหนดเขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลตามไม่ทันความเจริญของ ชุมชนเมืองที่เริ่มมีความแตกต่างกันน้อยลงจากการที่ฝ่ายเขตการรับประกันภัย ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงได้ออกสำรวจเก็บข้อมูล ในพื้นที่ที่ปรากฏว่าจำนวนเขตการรับประกันอัคคีภัยในภูมิภาค จำนวนมากที่ยังมีระดับความเสี่ยงภัยไม่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงเป็นการสร้าง ความไม่เป็นธรรมต่อผู้เอาประกันภัยที่มีทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยอยู่ในเขตนั้นๆ ต้องถูกบังคับให้เสียเบี้ยประกันภัยแพงโดยใช้ระบบพิกัด

ฉะนั้น การกำหนดชั้นของเมืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันควรที่จะได้รับการทบทวนใหม่อยู่ เสมอ (ปัจจุบันได้กำหนดให้อำเภอเมือง เกือบทุกจังหวัดและบางอำเภอสำคัญให้ใช้ระบบการกำหนดชั้นของเมืองแบบที่1) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

วิธีการดำเนินการ

ใช้ปัจจัยหลัก และความสำคัญที่นำมาพิจารณาเช่นเดิม แต่แก้ไขวิธีการให้คะแนนความบกพร่องของปัจจัยหลักจากที่มี 7 ระดับ ให้เหลือเพียง 5 ระดับ

หลักเกณฑ์การกำหนดชั้นของเมือง แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

  1. ลักษณะและความสำคัญของแต่ละลักษณะที่ได้รับการพิจารณา
  2. การตั้งชั้นของเมืองตามคะแนนที่ได้รับ

การกำหนดลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง

ลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้างในพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยที่ใช้ในอดีตกำหนดไว้เป็น 6 ชั้นคือ

  1. สิ่งปลูกสร้างชั้นเยี่ยม ต้องมีลักษณะดังนี้
    • กำแพง ด้านนอก และกำแพงกั้นด้านในทั้งหมดต้องทำด้วยอิฐเผา หรือหิน หรือคอนกรีตซึ่งไม่มีไม้หรือวัตถุที่ติดไฟได้ เว้นแต่ใช้เป็นประตูหรือหน้าต่างหลังคาทำด้วยคอนกรีต หรือกระเบื้องหรือหินชนวน หรือโลหะและโครงเป็นคอนกรีต หรือเหล็กกล้า เสาทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ
    • พื้นเป็นคอนกรีต หรือโลหะ จะใช้วัสดุอื่นปูทับบนพื้นดังกล่าวก็ได้
    • บันไดเป็นคอนกรีตหรือโลหะจะใช้วัสดุอื่นๆปูทับบนพื้นบันไดคอนกรีตหรือโลหะนั้นก็ได้
  1. สิ่งปลูกสร้างชั้นพิเศษ ต้องมีลักษณะตามข้อ(1)ข้อ(2)และข้อ(3)ของสิ่งปลูกสร้างชั้นเยี่ยม
  2. สิ่งปลูกสร้างชั้น 1 ต้องมีลักษณะดังนี้
    • กำแพง ด้านนอกทำด้วยอิฐเผา หรือหิน หรือคอนกรีต หรือแผ่นหินชนวนซึ่งมีไม้หรือวัสดุอื่นที่ติดไฟได้ไม่เกินเนื้อที่ ฝาผนัง 1 ด้าน สำหรับตึกแถว และไม่เกิน 20 เปอเซ็นร์ สำหรับสิ่งปลูกสร้างอื่นๆเว้นแต่จะใช้เป็นประตูหรือหน้าต่าง
    • หลังคามุงกระเบื้อง หรือหินชนวนหรือแผ่นโลหะ หรือกระเบื้องไม้และโครงไม้
    • พื้นไม้
    • หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะโปร่งมีหลังคาสังกะสี หรือมุงกระเบื้องโครงโลหะหรือคอนกรีตให้ถือเป็น สิ่งปลูกสร้างชั้น 1 ได้
    • หรือ สิ่งปลูกสร้างที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุทนไฟ โครงสร้างและเสาทำด้วยโลหะหรือทำด้วยคอนกรีตมีหลังคามุงโลหะ หรือกระเบื้องให้ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 ได้
  3. สิ่งปลูกสร้างชั้น 2 ต้องมีลักษณะดังนี้
    • กำแพงด้านนอกทำด้วยอิฐเผา หรือหิน หรือคอนกรีตชนวนอย่างน้อย 50 เปอเซ็นต์ หลังจากหักประตูและหน้าต่างแล้ว
    • หลังคามุงกระเบื้อง หรือหินชนวนหรือแผ่นโลหะหรือกระเบื้องไม้หรือโครงไม้
    • หรือสิ่งปลูกสร้างโปร่งเสาไม้ หลังคามุงกระเบื้อง หรือหินชนวนหรือแผ่นโลหะให้ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 2 ได้
  4. สิ่งปลูกสร้างชั้น 3 สิ่งปลูกสร้างที่ที่ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสิ่งปลูกสร้างชั้นพิเศษ ชั้น1 ชั้น 2 และชั้น4 ให้ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 3
  5. สิ่งปลูกสร้างชั้น 4 สิ่งปลูกสร้างที่มีบางส่วนหรือทั้งหมดทำจากใบจาก หรือวัสดุคล้ายคลึงกัน

เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องทบทวนลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง

ลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้างกำหนดไว้ 6 ชั้นดังกล่าวมีข้อบกพร่องดังนี้

    1. ข้อกำหนดทางโครงสร้างอาคารส่วนสำคัญต่อเสถียรภาพของอาคารทั้งหลังได้แก่ เสา คาน และพื้นไม่ครบถ้วน มีข้อกำหนดของเสาและพื้นขาดคาน
    2. กำหนด วัสดุที่ประกอบเป็นโครงสร้างไม่ชัดเจนไม่กำหนดอัตราทนไฟ และกำหนดให้วัสดุมีความทนไฟไม่เท่ากัน อยู่ในลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้างเดียวกันดังนี้
    3. ไม่ชัดเจนกำหนดสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 มีโครงสร้างหลังคาเป็นคอนกรีตหรือเหล็กกล้าเสาและพื้นทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ
    4. คอนกรีต หมายถึง วัสดุซึ่งประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของซีเมนต์ ทราย หินและน้ำ
    5. คอนกรีตเสริมเหล็ก หมายถึง คอนกรีตซึ่งมีเหล็กฝังภายในซึ่งทำหน้าที่รับแรงได้มากกว่าปกติ

ฉะนั้นโครงหลังคาต้องกำหนดชัดเจนลงไปว่าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก

อัตราความทนไฟไม่เท่ากัน คอนกรีตเสริมเหล็ก จะมีอัตราความทนไฟ 2-3 ช.ม. เหล็กหรือโลหะที่ไม่มีฉนวนห่อหุ้ม หรือห่อหุ้มไม่พอ แม้เหล็กจะไม่ติดไฟแต่ความร้อนจะทำให้เหล็กอ่อนตัว เกิดวิบัติโดยสิ้นเชิงภายใน 20 นาที

  1. กำหนดสิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างหลักทำด้วยเหล็กหรือโลหะ ซึ่งเป็นวัสดุไม่ทนไฟให้เป็นสิ่ง ปลูกสร้างชั้นเยี่ยมโดยไม่ได้กำหนดให้เหล็กหรือโลหะต้องมีวัสดุหรือฉนวนห่อ หุ้ม เพื่อให้โครงสร้างเหล็ก สามารถทนไฟได้ ในเวลาพอควรจึงสามารถรักษาเสถียรภาพของอาคารไว้นานพอมีเวลาผญจเพลิงเพื่อลด ความสูญเสียทรัพย์สิน รวมทั้งมีเวลาให้ผู้ที่ติด อยู่ในอาคารขณะเพลิงไหม้หนีไฟได้ก่อนอาคารจะวิบัตินั้น จึงเป็นความผิดพลาดทางมาตรฐาน การป้องกันอัคคีภัยที่ส่งเสริม ให้เจ้าของอาคารเฉพาะอย่างยิ่งอาคารโรงงานที่มีโครงสร้างเหล็กที่สามารถ ยืนอยู่ในไฟได้เพียง 20 นาทีเท่านั้น เพราะราคาถูก สร้างได้รวดเร็วมองเห็นผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าความปลอดภัย ทั้งยังได้รับการกำหนดให้เป็นสิ่งปลูกสร้างชั้นเยี่ยม ในพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย จึงเสียเบี้ยประกันภัยกว่าสิ่งปลูกสร้างชั้นอื่นๆอีกด้วย หากไม่มีแรงจูงใจสนับสนุนก็จะลงทุนเฉพาะ เท่าที่กฎหมายบังคับ หากเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง จึงควรกำหนดมาตรการต่างๆในการเพิ่มหรือลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยเพื่อ สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ลงทุน จัดให้มีระบบความปลอดภัยในอาคาร

ลำดับชั้นสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดใหม่

ปัจจัยหลักที่นำมาพิจารณา

  1. วัสดุก่อสร้างจำแนกตามอัตราความทนไฟ ออกเป็น 3 ประเภท
    • วัสดุ ทนไฟ หมายถึงวัสดุที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง อาจไหม้แต่ไม่ติดไฟง่ายหรือไหม้ช้ามากต่อต้านการลุกลามของไฟ สามารถรักษาคุณสมบัติไว้ได้
    • วัสดุต้านไฟ หมายถึง วัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือลุกไหม้เมื่อถูกไฟ
    • วัสดุติดไฟ หมายถึง วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง
  2. องค์ประกอบอาคาร
    • องค์ประกอบอาคาร ที่มีผลต่อการกำหนดชั้นของสิ่งปลูกสร้าง
      โครงสร้างอาคารส่วนสำคัญหมายถึง เช่นเสา คานกำแพงรับแรง และพื้นเป็นส่วนที่สำคัญต่อเสถียรภาพ ของตัวอาคารทั้งหลัง
    • องค์ประกอบอาคาร ที่มีผลต่อการเพิ่มหรือ ลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
      ผนัง และวัสดุมุงหลัง ซึ่งเป็นผลต่อการลุกลามของไฟ
  3. ประเภทของอาคาร จำแนกตามลักษณะการใช้งานของอาคาร
    • อาคารที่มีอัตราการเสี่ยงจากอัคคีภัยเกิดขึ้นไม่รุนแรง เช่นบ้านพักอาศัย ตึกแถวความสูงไม่เกิน 4 ชั้น
    • อาคารที่มีอัตราการเสี่ยงจากอัคคีภัยรุนแรงปานกลาง เช่นโรงจอดรถยนต์ โรงงานผลิตอาหาร
    • อาคาร ที่มีอัตราการเสี่ยงจากอัคคีภัยที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมาก อาคารประเภทนี้มีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงเหลว เช่นโรงเลื่อย โรงงานประกอบรถยนต์

ลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง แบ่งตามลักษณะการใช้งานอาคาร ออกเป็น 2 กลุ่มคือ

  1. สำหรับอาคารประเภทอยู่อาศัย หรือตึกแถวที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น อาคารที่จัดอยู่ในประเภทนี้ จะถือว่ามีอัตราการเสี่ยงจากอัคคีภัยไม่รุนแรง

สิ่งปลูกสร้างชั้น 1

อาคาร ที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือมีฉนวนห่อหุ้ม และผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้านมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผนังทั้งหมด

สิ่งปลูกสร้างชั้น 2

อาคาร ที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเหล็กที่มีฉนวนห่อหุ้ม และผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้าน ระหว่าง 50- 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผนังทั้งหมด

สิ่งปลูกสร้างชั้น 3

อาคารที่ไม่มีลักษณะดังที่กำหนดในสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 และชั้น 2 ให้ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น3

  1. สำหรับอาคารประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อ ก.

อาคารประเภทนี้ถือว่ามีอัตราการเสี่ยงที่เกิดจากอัคคีภัยที่เกิดขึ้น รุนแรงปานกลางถึง รุนแรงมาก

สิ่งปลูกสร้างชั้น 1

  1. เสา กำแพงรับแรง ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กหรือวัสดุที่มีความทนไฟ หรือมีฉนวนห่อหุ้มห่อหุ้ม ให้มีอัตราทนไฟไม่น้อย 3 ชั่วโมง
  2. คาน พื้น ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กหรือวัสดุที่มีความทนไฟ หรือมีฉนวนทนไฟห่อหุ้มให้มีอัตรา ทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

สิ่งปลูกสร้างชั้น 2

  1. เสา กำแพงรับแรง ทำด้วยเหล็กที่มีฉนวนทนไฟห่อหุ้มให้มีอัตราความทนไฟ หรือมีฉนวนทนไฟห่อหุ้มให้มี อัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง หรือวัสดุที่มีความทนไฟ หรือมีฉนวนทนไฟห่อหุ้มมีอัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
  2. คาน พื้น ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กหรือวัสดุที่มีความทนไฟ หรือมีฉนวนทนไฟห่อหุ้มให้มีอัตราทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หรือวัสดุที่มีความทนไฟ หรือมีฉนวนทนไฟห่อหุ้มมีอัตรา ทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

สิ่งปลูกสร้างชั้น 3

หมายถึง อาคารที่ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 หรือสิ่งปลูกสร้างชั้น 2 ให้ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 3

หมายเหตุในกรณีที่องค์ประกอบอาคารใดไม่ครบตามข้อกำหนดให้ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้นที่ต่ำกว่าถัดไป

องค์ประกอบอาคารที่มีผลต่อการเพิ่มหรือลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย

  1. ผนัง
    • ผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้านมากกว่าร้อยละแปดสิบของพื้นที่ผนังทั้ง หมดมีส่วนลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
    • ผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้านมากกว่าร้อยละห้าสิบถึงแปดสิบของพื้นที่ผนังทั้งหมด ไม่มีส่วนลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
    • ผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้านน้อยกว่าร้อยละห้าสิบของพื้นที่ผนังทั้งหมด มีส่วนเพิ่มอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย

2. วัสดุมุงหลังคาที่เป็นผ้าใบ ใยสังเคราะห์ กระเบื้องไม้ หรือวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นมีส่วนเพิ่มอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย

จุดเด่นของการปรับปรุงลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง ในครั้งนี้

  1. มีเอกสารแนบท้ายการกำหนดลำดับชั้นของสิ่ง ปลูกสร้าง ซึ่งประกอบด้วยประเภทการทนไฟของวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการ ประกอบเป็นโครงสร้างอาคาร ปรับให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีโดยไม่ต้องแก้ไขในหลักการ
  2. ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ทั้งของประเทศไทยและสากล

การพิจารณากำหนดลำดับชั้นของสิ่งปลูกสร้างใหม่ใช้เกณฑ์มาตรฐานการป้องกัน อัคคีภัยฉบับใหม่ของวิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการร่างมาตรฐานฉบับนี้ประกอบด้วยวิศวกร และสถาปนิก ได้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้สูงขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐาน NATIONAL FIRE PROTECTION ASSOCIATION (NFPA)ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกและพัฒนาต่อจาก ฉบับปี 2536 ที่ไม่ทันกับการก่อสร้างอาคารใหม่ๆ ก่อให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัยอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา

เนื่องจากปัจจุบัน กฎหมายควบคุมอาคารยังไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร หรือ 8 ชั้นขึ้นไปอาคารสาธารณะหรืออาคารที่มีลักษณะการใช้งานที่มีอัตราเสี่ยง รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกฎมายควบคุมอาคารของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีการกำหนดชัดเจนลงไปเลยว่าองค์ประกอบอาคาร ทั้งงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีผลต่อเสถียรภาพของอาคาร หรืองานสถาปัตยกรรม ซึ่งผลต่อการลุกลามของไฟนั้น จะต้องใช้วัสดุที่มีอัตราการทนไฟกี่ชั่วโมง เพื่อเป็นการป้องกันชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น อีกประการหนึ่ง ความสามารถในการ ดับเพลิงของกรุงเทพมหานครที่มีศักยภาพสูงสุดในประเทศไทยนั้นสามารถดับเพลิง ได้สูงสุด 200 ฟุต หรือเท่ากับอาคาร 18 ขั้น และสำหรับภูมิภาคเฉพาะในเมืองใหญ่เท่านั้น ที่สามารถดับเพลิงได้สูง 100 ฟุต หรือเท่ากับอาคาร 9 ชั้นการดับเพลิง จากภายนอกอาคารโดยการฉีดน้ำเพื่อสกัดการ ลุกลามของไฟ จากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ไปยัง อาคารข้างเคียง ส่วนการดับเพลิงในอาคารที่กำลังเกิดไฟไหม้อยู่นั้น ไม่สามารถดับเพลิงจากภายนอกได้ พนักงานผจญเพลิง จะต้องเข้าไปดับเพลิงในอาคารโดยบันได ที่มีความสูงไม่เกินอาคาร 18 ชั้น แล้วจึงใช้อุปกรณ์ดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่ ในอาคารนั้นเองฉะนั้นอาคารสูง จึงต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยจะต้องติดตั้งระบบดับเพลิงที่มีมาตรฐาน สามารถทำงานด้วยตัวเองทันที ที่เกิดเพลิงไหม้ มีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดสู่พื้นดิน เพื่อช่วยให้ผู้ที่ติดไฟอยู่ในอาคาร หนีออกมาได้โดยปลอดภัย และมีพื้นที่ดาดฟ้าขนาดกว้าง ยาวด้านละไม่น้อยกว่า 6 เมตรเป็นที่ว่างเพื่อใช้ในการหนีไฟ ทางอากาศได้ โดยปลอดภัยอีกทางหนึ่งด้วย

การออกแบบอาคารเพื่อลดความเสี่ยงต่ออัคคีภัยสามารถทำได้โดยจะต้องมีการวาง แผนตั้งแต่มีการออกแบบโดยวิศวกร และสถาปนิก จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่จะเลือกใช้วัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับโครง สร้างอาคารสามารถรักษา เสถียรภาพ ของโครงสร้างอาคาร ทั้งระบบ ได้ภายใต้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมไฟไม่ให้ลุกลาม ไปที่ส่วนอื่น ของอาคารได้เป็นต้น

กรมการประกันภัยไม่มีอำนาจในการควบคุมการออกแบบอาคารโดยตรง แต่ก็ควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้อาคาร ที่เอาประกันภัย ให้ได้รับการออกแบบที่เสี่ยงต่ออัคคีภัยน้อยลง และสามารถควบคุมความเสียหายให้อยู่ในขีดจำกัดได้ การกำหนดพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ที่เหมาะสมกับกับสภาพเสี่ยงต่ออัคคีภัย การมีส่วนลดเบี้ยประกันอัคคีภัย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับอาคารที่มีลักษณะการเสี่ยงภัยน้อย และในทำนองเดียวกันสมาคมประกันวินาศภัย ควรให้ความร่วมมือในการปฏิเสธการรับประกันอัคคีภัย อาคารที่มีความเสี่ยงต่ออัคคีภัยสูงจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการป้องกัน และระงับอัคคีภัยจนกว่าผู้เอาประกันภัย จะดำเนินการแก้ไขให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด โดยใช้ส่วนลดเบี้ยประกันอัคคีภัย ซึ่งควรลดมากเพียงพอเป็นแรงจูงใจ

หมายเหตุ ปัจจุบัน นิยามลำดับชั้นสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดได้ถูกกำหนดไว้ในประกาศนายทะเบียนประกัน วินาศภัยแล้ว แต่ถูกยกเว้นการบังคับในหัวข้อ ข. สำหรับอาคารที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อ ก.