Business Interruption Insurance

การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คืออะไร

การทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เช่น การประกันอัคคีภัยการประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด เมื่อเกิดความสูญเสีย หรือเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือผู้รับประกันภัย อาจชดใช้เป็นเงินสด หรือโดยการซ่อมแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสร้างให้ใหม่ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หากอัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นต่อโรงงานที่ดำเนินการผลิต สินค้าใด ๆ ก็ตามนอกจากจะเกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สินแล้ว จะมีผลทำให้โรงงานนั้นต้องหยุดกิจการเพื่อมีการซ่อมแซมโรงงาน การผลิตก็หยุดชะงักลงในขณะที่ไม่มี การผลิตนั้นมีผลทำให้ยอดรายได้ของ เจ้าของธุรกิจลดลง ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าแห่งหนี่ง ทำประกันอัคคีภัยโรงงาน ไว้เต็มตามมูลค่าของทรัพย์สิน ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ ทำให้โรงงานเสียหาย 50% บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง 50% นั้น และเมื่อพิจารณาต่อไปว่า ขณะที่รอการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและซ่อมแซมโรงงานนั้น การผลิตก็จะหยุดชะงักลงซึ่งเป็นผลเสียหายสืบเนื่องจากเพลิงไหม้ทำให้เกิดผล ที่ตามมาคือ ยอดรายได้ของเจ้าของโรงงานลดลง ค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิต เช่น ค่าเงินเดือน ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายบางส่วนจะลดลง ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน เป็นต้น

ดังนั้น การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของธุรกิจ

โดย หลักการแล้วการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียในทางการค้า (รายได้ของผู้เอาประกันภัย) เมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงักลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยไว้และเป็นทรัพย์สิน ที่มีผลต่อการค้าของ ผู้เอาประกันภัย วัตถุประสงค์ของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักคือ เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัย กลับสู่สถานะทางการเงินดังเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีอัคคีภัยหรือภัยอื่นๆ ที่เอาประกันภัยเกิดขึ้น

คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก มีความหมายครอบคลุมเพียงใด

คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก หมายถึง การที่โรงงาน/กิจการต้องหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราวเพื่อรอการซ่อมแซมหรือสร้างโรงงานใหม่ อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน

การประกันภัยหยุดชะงัก มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลัษณะอย่างไร เหมาะกับสภาพความเสี่ยงแบบใด

การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักมีแบบเดียว แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปได้แก่

  • การประกันภัยกำไร (Profit Insurance)
  • การประกันภัยรายได้ธุรกิจ (Business Income Coverage)
  • การประกันภัยรายได้ (Income Insurance)

แต่ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย มี 2 ชื่อ คือ

  1. การ ประกันภัยความเสียหายสืบเนื่อง (Conscquentoal Loss Insurance) หมายถึง การประกันภัยความเสียหาย ทางการเงิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายทางวัตถุอันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยได้
  2. การประกันภัยการสูญเสียกำไร (Loss of Profit Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองคำนี้หมายถึงการประกันภัยความเสียหายอันเนื่องมาจาก การหยุดชะงักของธุรกิจจากเหตุการณ์อันไม่อาจ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น เพลิงไหม้โรงงานเครื่องจักร เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรแล้วทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น

ดังนั้น ธุรกิจใดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดดังกล่าวข้างต้น จึงควรทำประกันภัยประเภทดังกล่าวนี้

บริษัทประกันภัยใช้ปัจจัยอะไรบ้างในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัย และการกำหนดวงเงิน คุ้มครองจะพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก มี 2 วิธี คือ

    1. โดยวิธีผลรวมเป็นแบบเดิม

คำนวณจากกำไรสุทธิบวกด้วยภาระผูกพันทางการเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายคงที่หรือค่าใช้จ่ายประจำ (Standing Charges)

จำนวนเงินเอาประกันภัย =

กำไรสุทธิ

+ ค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องการเอาประกันภัย

+ ภาระผูกพันทางการเงิน

กำไรสุทธิ หมายถึง รายได้ที่ขาดหายไปเมื่อเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ

ค่าใช้จ่ายคงที่และภาระผูกพันทางการเงิน เป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิตก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเสื่อมราคา ค่าสอบบัญชี เป็นต้น

ภาระผูกพันทางการเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น

  1. โดยวิธีผลต่าง เป็นแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
จำนวนเงินเอาประกันภัย = ยอดขาย (ยอดรายได้) – ต้นทุนขาย – ค่าใช้จ่ายผันแปร

ยอดขายหรือยอดรายได้ หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัยได้รับแล้วหรือมีสิทธิ์จะได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าตามปกติของการดำเนินธุรกิจของผู้เอาประกันภัย ณ สถานที่ของผู้เอาประกันภัยนั้น

ต้นทุนขาย คำนวณได้จาก

บวก

สินค้าคงเหลือต้นงวด
สินค้าที่ซื้อเข้ามาระหว่างงวด
ต้นทุนสินค้าที่มีเพื่อขาย

หัก

สินค้าคงเหลือปลายงวด
ต้นทุนขาย

ค่าใช้จ่ายผันแปร ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะลดลงหากยอดขายหรือจำนวนสินค้าที่ผลิต   ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะแปรผันตามระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period)

ระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยผูกพันที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหายจนถึงวันที่ความเสียหายนั้นหมดไป หรือตามวันสิ้นสุดที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์

อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับภัยเนื่องจากผลเสียเมื่อกิจการหยุดชะงัก หรือผลเสียหายเนื่องจากผลกำไร
(Business Interruption or Loss of Profit)

กำหนดเป็นมาตรฐานในพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ดังนี้

ระยะเวลาของการชดใช้
Indemnity Period

คำนวณจากอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
Perecentage of Fire Rate

1 เดือน
2 เดือน
3 เดือน
4 เดือน
5 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
18 เดือน
24 เดือน

40% – 50%
50% – 60%
60% – 75%
65% – 95%
75% – 100%
80% – 115%
90% – 130%
205% – 150%
90% – 145%
80% – 125%

ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งทำประกันอัคคีภัยทรัพย์สินไว้เต็มมูลค่า จำนวนเงินเอาประกันภัย 100 ล้านบาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยประกอบด้วย อาคารโรงงาน เครื่องจักรโกดังวัตถุดิบ ไม่มีส่วนลดอุปกรณ์ดับเพลิง อัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยของโรงงานนี้ เท่ากับ 0.325% ผู้เอาประกันภัย ได้มีการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก โดยมีระยะเวลาของการชดใช้ 5 เดือน ดังนั้น อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับ การประกันภัยดังกล่าวนี้เท่ากับ 0.325% X (75% – 100%) หรือเท่ากับ 0.24375%-0.325% หรือคิดเป็นเบี้ยประกันภัย 243,750-325,000 บาท

ภัยประเภทใดที่ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ยกเว้นความคุ้มครอง

การประกันภัยไม่คุ้มครอง การสูญเสียที่เกิดจากหรือเกิดขึ้นโดยหรือเป็นผลต่อเนื่องจาก

  • การเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
  • เพลิงใต้ดิน
  • การระเบิด เว้นแต่ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • การไหม้ไม่ว่าโดยอุบัติเหตุ หรือโดยการอื่นของป่าพุ่มไม้ทุ่งหญ้าและการเผาเพื่อปราบพื้นที่ความเสียหายของทรัพย์สิน ที่เกิดจากการบูดเน่า ความร้อนตามธรรมชาติ หรือการระอุ หรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
  • การสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อมที่มีสาเหตุ จากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้นโดยวัตถุอา วุธนิวเคลีย์
  • การ สูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่มีสาเหตุจากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิด ขึ้นโดยการแผ่รังสีของละอองกัมมันตรังสี หรือเปอระเปรื้อนกัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใด ๆ หรือจากกากนิวเคลียร์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การเผาไหม้ให้รวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองจากการแตกตัวของ นิวเคลียร์ด้วย

การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการสูญเสียใด ๆ ที่มีสาเหตุจากความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยหรือเนื่องจาก หรือเป็นผลมาจากทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม จากปรากฏการณ์ต่อไปนี้

  • แผ่นดินไหว การประทุของภูเขาไฟหรือการสั่นสะเทือนของธรรมชาติ
  • ไต้ฝุ่นเฮอริเคน ทอร์นาโด ไซโคลน หรือการรบกวนอื่น ๆ ทางบรรยากาศ
  • สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างประเทศความเป็นปรปักษ์หรือการกระทำที่มุ่ง ร้ายคล้าย สงคราม(ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง
  • การแข็งข้อ ความไม่สงบ การต่อต้านของทหารหรือประชาชน การกบฏ

การจราจล การปฏิวัติ การใช้กำลังทางทหารหรือการแย่งชิงอำนาจ ภาวะประกาศกฎอัยการศึกหรือภาวะการเข้าล้อม หรือเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึกหรือภาวะการเข้าล้อม

การประกันภัยประเภทนี้มีหลักเกณฑ์และข้อยกเว้นในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน อย่างไรบ้าง

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน คือ

  • เมื่อ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินแล้วกรมธรรม์ประกัน ภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองที่กำหนด

ข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

  • ผู้รับประกันภัยทรัพย์สินไม่จ่ายหรือไม่ยอมรับชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินนั้น
  • ความเสียหายเกิดขึ้นจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย

ธุรกิจหยุดชะงัก แต่ไม่ได้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน

ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นขณะนี้ ท่านคิดว่า “การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะช่วยเสริมความมั่นคงแก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด ขอคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจการประกันภัยประเภทนี้

ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนี้ สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของธุรกิจหรือกิจการที่มีการผลิตควรจะทำการประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงักไว้ ควบคู่กับการประกันภัยทรัพย์สิน เพราะดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเมื่อเกิดความสูญเสียหรือเสียหายขึ้น เช่น การเกิดอัคคีภัย นอกจากทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการชดใช้แล้ว ขณะที่รอการซ่อมแซมหรือสร้าง โรงงานอาคารใหม่ ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงมีรายได้ที่จะประคับประคองธุรกิจต่อไป มีเงินที่จะจ่ายในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ที่ยังคงต้องจ่ายต่อไป เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้เพราะ ถ้าหากไม่มีการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักดังกล่าวแล้ว เจ้าของธุรกิจหรือกิจการดังกล่าว จะต้องหาเงินมาชดเชย ในส่วนที่ขาดหายไป เช่น รายได้ หรือค่าใช้จ่ายคงที่ที่ยังคงต้องจ่าย ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ซึ่งแต่ก่อนธุรกิจเหล่านี้สามารถทำการกู้ยืมได้จาก สถาบันการเงินต่าง ๆ แต่ในภาวะปัจจุบันที่ค่าเงินตึงตัว สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อลดลงจึงเป็นการยากที่จะทำการกู้ยืมได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจหรือกิจการจึงอาจจะต้องเลิกการผลิต หรือปิดกิจการลง มีผลทำให้เกิดการว่างงานและเป็นผลเสีย ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้น การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงเข้ามาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวได้ ในต่างประเทศเคยมีการสำรวจพบว่า เจ้าของโรงงานที่มีการทำประกันภัยเฉพาะทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวโดยไม่มี การทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักนั้น ปรากฏว่ามีเป็นจำนวนมากที่ธุรกิจเหล่านั้นไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้แม้ ว่า จะได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินเต็ม ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยแล้วก็ตาม