ข้อมูลสินไหมรถยนต์
- ข้อมูลที่ต้องใช้แจ้งอุบัติเหตุ
- อุบัติเหตุที่ควรโทรแจ้งทันที
- อุบัติเหตุที่ไม่ต้องโทรแจ้งทันที
- ข้อควรปฏิบัติ ณ ที่เกิดเหตุ
- ข้อควรรู้เมื่อจะนำรถเข้าซ่อม
- การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา
ข้อมูลที่ต้องใช้แจ้งอุบัติเหตุ
- เลขที่กรมธรรม์ (ถ้าทราบ)
- ชื่อผู้เอาประกัน (ต้องทราบ)
- ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถเอาประกัน (ต้องทราบ)
- วัน & เวลา ที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
- สถานที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
- ลักษณะการเกิดเหตุ (ต้องทราบ)
- ขณะนี้รถอยู่ที่ใด , จุดสังเกตที่เห็นได้ชัด (ต้องทราบ)
- ชื่อผู้ขับขี่ และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
- ชื่อผู้โทร.แจ้ง และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
- ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถคู่กรณี (ควรทราบ)
สิ่งที่ท่านจะได้รับและควรจำหลังเสร็จสิ้นการโทร.แจ้ง
- เลขที่อุบัติเหตุของท่าน
- ชื่อผู้รับแจ้ง
อุบัติเหตุที่ควรโทรแจ้งทันที
โดยส่วนใหญ่จะเป็นเหตุที่ผู้ขับขี่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุ ที่จะเข้าไปดำเนินการเคลมรถให้ อาทิ
รถชนกับรถคู่กรณี/รถชนกับทรัพย์สินต่างๆ (กรณีที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายด้วย)/รถชนคน/รถคว่ำ/รถเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือตกน้ำ/รถหาย/อุปกรณ์ส่วนควบหาย หรือการเกิดเหตุใดก็ตามที่ทำให้รถมีความเสียหายมาก เป็นต้น
หลังจากโทรแจ้งเหตุแล้ว บริษัท ประกันภัยฯ ก็จะรีบส่งเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุมาช่วยเหลือท่าน ซึ่งหากอุบัติเหตุครั้งนั้น อยู่ในเงื่อนไขของความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่ เจ้าหน้าที่สำรวจก็จะออกเอกสารให้ท่าน 1 ใบ สำหรับการติดต่อซ่อมรถ ซึ่งในภายหลัง ท่านอาจนำรถพร้อมเอกสารใบนี้ไปติดต่อซ่อมที่อู่ที่รับงานกับบริษัท ประกันภัยฯ ได้โดยตรง หรือจะนำไปติดต่อให้บริษัทฯ คุมราคาเพื่อนำรถไปจัดซ่อมเองก็ได้ เอกสารใบนี้เรียกว่าใบรับรองความเสียหาย(หรือจะเรียกว่าใบเคลมก็ได้)
กรณีที่รถชนกับรถคู่กรณี
สิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ท่านอย่างหนึ่ง ก็คือเอกสารที่ชื่อ ” ใบยืนยันการเกิดเหตุ ” ที่แนบมาพร้อมซองกรมธรรม์ประเภท 1 ของท่าน หากรถของท่านชนกับรถคู่กรณีที่มีประกัน ไม่ว่าจะประกันที่ใดก็ตามที่เป็นประเภท 1 หากคู่กรณีมีเอกสารเหมือนกับท่าน (ที่ยังไม่หมดอายุ) ขอให้นำมากรอกแล้วแลกกันถือไว้ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไปติดต่อกับบริษัทประกันของตัวเอง
ประโยชน์ที่ท่านได้รับคือ ไม่ต้องรอ
แนะนำให้เข้าไปเปลี่ยนกระจกที่ร้านกระจกที่รับงานกับบริษัทฯ ได้ทันที หรือหากไม่สะดวก ก็ให้หาร้านเปลี่ยนเองได้เลย แล้วนำใบเสร็จไปติดต่อ ขอตั้งเบิกคืนจากบริษัท ประกันภัยฯ ภายหลัง ซึ่งหากมีหลักฐานที่ยืนยันว่ากระจกแตกแนบมาได้ เช่น ภาพถ่ายขณะกระจกแตก ,เศษกระจกที่ติดมากับป้ายวงกลม ก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่สามารถหามาได้ ทางบริษัท ประกันภัยฯ ก็ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของท่าน ให้เจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาเคลมให้เสียเวลาของท่าน
สำหรับกรณีรถกระจกบังลมแตก กรณีนี้ก็ควรรีบโทรแจ้งเหตุโดยทันที ถึงแม้บริษัทประกันภัยฯ จะไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจอุบัติเหตุ แต่การโทรแจ้งเหตุก็เพื่อขอคำแนะนำวิธีปฏิบัติกับรถที่กระจกแตก ซึ่งก็ได้แก่ แนะนำให้เข้าไปเปลี่ยนกระจกที่ร้านกระจกที่รับงานกับบริษัท ประกันภัยฯ ได้ทันที
หรือหากไม่สะดวกก็ให้หาร้านเปลี่ยนเองได้เลย แล้วนำใบเสร็จไปติดต่อขอตั้งเบิกคืนจากบริษัทประกันภัยฯ ภายหลัง ซึ่งหากมีหลักฐานที่ยืนยันว่ากระจกแตกแนบมาได้ เช่น ภาพถ่ายขณะกระจกแตก, เศษกระจกที่ติดมากับป้ายวงกลมก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่สามารถหามาได้ ทางบริษัทประกันภัยฯ ก็ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของท่าน
อุบัติเหตุที่ไม่ต้องโทรแจ้งทันที
อุบัติเหตุประเภทนี้มักเป็นอุบัติเหตุที่เสียหายไม่มากนัก ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนสำหรับผู้ขับขี่ จึงสามารถที่จะใช้รถไปพลางๆ ก่อนได้ อาทิ ถูกก้อนหินกระเด็นใส่/ถูกขีดข่วน/เฉี่ยวเสา, รั้ว ฯลฯ (ที่ทรัพย์สินไม่เสียหายหรือเจ้าของไม่เอาเรื่อง)
หากท่านมีความสะดวกเมื่อใดจึงค่อยโทรแจ้งเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยฯ จะให้เลขเคลมพร้อมกับคำแนะนำขั้นตอนต่อไป สิ่งที่ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถควรทำ ได้แก่
แนะนำให้นำรถไปติดต่อกับบริษัทประกันภัยฯ ภายหลัง เพื่อขอให้บริษัทประกันภัยฯ คุมราคาสำหรับการจะนำรถไปจัดซ่อมเอง หรือหารือที่จะเข้าซ่อมที่อู่รับงานกับบริษัทประกันภัยฯ
หากเจ้าของรถไม่ประสงค์จะเดินทางไปบริษัทประกันภัยฯ ก็อาจขอรายชื่ออู่ที่รับงานกับบริษัทประกันภัยฯ ที่สามารถเปิดเคลมให้ท่านได้ แล้วนำรถไปเปิดเคลมกับอู่ดังกล่าว หรือติดต่อเคลมรถกับเจ้าหน้าที่ประจำรถ Mobile ก็ได้
ข้อควรปฏิบัติ ณ ที่เกิดเหตุ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถของท่านชนกับรถคู่กรณี ขณะกำลังรอเจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ
หากท่านแน่ใจว่าท่านเป็นฝ่ายได้เปรียบเส้นทางแล้ว อย่ารีบเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ จนกว่าจะแน่ใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด หรือพนักงานจราจรมาทำแผนที่เกิดเหตุแล้ว หรือกรณีที่ไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดได้เปรียบเส้นทาง การเคลื่อนย้ายรถหรือแยกย้ายรถออกจากกัน ท่านอาจถูกปรักปรำจนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้
หากไม่แน่ใจในรูปคดีหรือการซักถามของอีกฝ่าย ไม่ควรออกความเห็นใดๆ ที่ท่านไม่แน่ใจว่าจะเป็นผลดีต่อท่านหรือรูปคดีของท่าน จนกว่าเจ้าหน้าที่ประกันภัยจะให้คำแนะนำ
จดจำรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นของคู่กรณีไว้ เช่น หมายเลขทะเบียนรถ ยี่ห้อ สี เป็นต้น เพื่อป้องกันการหลบหนี
ไม่ควรรับข้อเสนอหรือประนีประนอมยอมความกับฝ่ายคู่กรณี หากไม่แน่ใจว่าจะคุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวท่าน หากมีคนเจ็บ ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงโดยเร็ว โปรดระลึกเสมอว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทสามารถช่วยเหลือท่านได้ หากท่านได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการที่กล่าวข้างต้น
กรณีมีข้อขัดข้อง หรือต้องการคำแนะเพิ่มเติม ท่านควรโทรติดต่อบริษัท ประกันภัยฯ
ข้อควรรู้เมื่อจะนำรถเข้าซ่อม
กรณีที่ท่านมีใบรับรองความเสียหายแล้ว (ตรวจสอบความเสียหายรถโดยพนักงานบริษัทประกันภัยฯ แล้ว)
1. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ให้นำรถเข้าอู่ในเครือเพื่อจัดซ่อมได้เลย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่
- ใบรับรองความเสียหาย
- สำเนาทะเบียนรถ (อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ)
- สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้นำรถและใบรับรองความเสียหายติดต่อกับบริษัทประกันภัยฯ /รถ Mobile / จุดบริการต่าง ๆ เพื่อประเมินราคาค่าซ่อมก่อนดำเนินการซ่อม
2.1 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทประกันภัยฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทประกันภัยฯ โดยตรงได้แก่
- ใบรับรองความเสียหาย
- สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2.2 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทประกันภัยฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทประกันภัยฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทประกันภัยฯ ได้แก่
- ใบรับรองความเสียหาย
- ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
- นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
- ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทประกันภัยฯ ไว้ก่อน)
3. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่ศูนย์บริการ / ห้าง
3.1 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทประกันภัยฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน
3.2 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทประกันภัยฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทประกันภัยฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทประกันภัยฯ ได้แก่
- ใบรับรองความเสียหาย
- ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
- นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
- ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทประกันภัยฯ ไว้ก่อน)
หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทประกันภัยฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เอง
การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา
ในกรณีที่ท่านซื้อความคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาเมื่อรถของท่านเกิดอุบัติเหตุ และมีการแจ้งข้อหาคดีอาญาจากพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ขับขี่ บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ขับขี่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน
- กรณีที่เกิดเหตุในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือแจ้งไปที่ส่วนงานด้านนัดหมาย
- กรณีเกิดเหตุในต่างจังหวัด ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือสาขาท้องที่เกิดเหตุนั้น
การประกันตัวในชั้นอัยการ / ชั้นศาล
ทางบริษัท ประกันภัยฯ จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวได้ตามนัดหมาย ทั้งนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 วัน โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ประกันตัว ชื่อผู้ต้องหาตามบัตรประจำตัวที่ถูกต้อง พร้อมแจ้งจำนวนเงินที่ต้องประกันตัวให้บริษัท ประกันภัยฯทราบ
ข้อมูลสินไหมทั่วไป
- สินไหมอัคคีภัยและสินไหมเบ็ดเตล็ด
- สินไหมการขนส่งสินค้าทางทะเลและภายในประเทศ
- สินไหมอุบัติเหตุส่วนบุคคล
- สินไหมประกันสุขภาพ
สินไหมอัคคีภัยและสินไหมเบ็ดเตล็ด
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการเรียกร้อง เมื่อเกิดเหตุความเสียหาย
1. รีบดำเนินการแจ้งความเสียหายให้บริษัท ประกันภัยฯ ทราบ ทันที ดังนี้
1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ , โทรสาร , อีเมล์ หรือ แจ้งผ่าน เว็บไซต์ของทางบริษัท ฯ
1.2 ระบุชื่อของท่าน หรือ บุคคลผู้ประสานงานที่ต้องการให้บริษัท ประกันภัยฯ ติดต่อ
2. ดำเนินการบรรเทาทรัพย์สินที่กำลังได้รับความเสียหาย ไม่ให้ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น
3. ในกรณีทรัพย์สินเสียหายจากการกระทำของบุคคลภายนอก ให้ดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
4. เก็บรักษาทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ
5. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนบริษัทประกันภัยในการตรวจสภาพความเสียหาย
เอกสารประกอบการเรียกร้อง
- หนังสือเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย
- ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซมของผู้รับเหมา
- ภาพถ่ายความเสียหาย
- บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อเป็นหลักฐาน
- สำเนาโฉนดที่ดิน
- ใบเสร็จรับเงินในการซ่อมแซม ภายหลังตกลงยอมรับตามใบเสนอราคา
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สินไหมการขนส่งสินค้าทางทะเลและภายในประเทศ
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการเรียกร้อง เมื่อเกิดเหตุความเสียหาย
1. รีบดำเนินการแจ้งความเสียหายให้บริษัท ประกันภัยฯ ทราบ ทันที ดังนี้
1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ , โทรสาร , อีเมล์ หรือ แจ้งผ่าน เว็บไซต์ของทางบริษัท ฯ
1.2 ระบุชื่อของท่าน หรือ บุคคลผู้ประสานงานที่ต้องการให้บริษัท ประกันภัยฯ ติดต่อ
2. ดำเนินการบรรเทาทรัพย์สินที่กำลังได้รับความเสียหาย ไม่ให้ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น
3. ในกรณีทรัพย์สินเสียหายจากการกระทำของบุคคลภายนอก ให้ดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
4. เก็บรักษาทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ
5. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนบริษัทประกันภัยในการตรวจสภาพความเสียหาย
เอกสารประกอบการเรียกร้อง
- หนังสือเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย (Claim Notification Letter)
- ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล (Original Policy / Certificate of Insurance)
- ใบกำกับสินค้า (Invoice)
- ใบตราส่ง (Bill of Lading or Airway Bill)
- ใบแสดงรายการหีบห่อ (Packing List)
- ใบรับขนสินค้า (Delivery Order)
- สำเนาจดหมายที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง (Statement of claim to crrier
- หลักฐานการบันทึกความเสยหายเมื่อรับสินค้า (Survey Note / Wharf Survey / Damaged Cargo List)
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สินไหมอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการเรียกร้อง เมื่อเกิดเหตุความเสียหาย
รีบดำเนินการแจ้งความเสียหายให้บริษัท ประกันภัยฯ ทราบ ทันที ดังนี้
– แจ้งทาง โทรศัพท์ , โทรสาร , อีเมล์ หรือ แจ้งผ่าน เว็บไซต์ของทางบริษัท ฯ
– ระบุชื่อของท่าน หรือ บุคคลผู้ประสานงานที่ต้องการให้บริษัท ประกันภัยฯ ติดต่อ
1. กรณีทำประกันภัยผ่านหน่วยงาน (Group Personal Accident Insurance)
1.1 ผู้เอาประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท ประกันภัยฯ จากการแสดงบัตรประกันภัย โดยค่ารักษาพยาบาลที่เกินสิทธิ์ โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยทันที
1.2 หากผู้เอาประกันภัย สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ให้นำหลักฐานไปยื่นที่หน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท ประกันภัยฯ
1.3 เมื่อบริษัท ประกันภัยฯ พิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหมผ่านหน่วยงานต้นสังกัด หรือ โอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย
2. กรณีทำประกันภัยส่วนตัว (Individual Personal Accident Insurance)
2.1 ผู้เอาประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท ประกันภัยฯ จากการแสดงบัตรประกันภัย โดยค่ารักษาพยาบาลที่เกินสิทธิ์ โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยทันที
2.2 หากผู้เอาประกันภัย สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ให้นำหลักฐานส่งให้บริษัท ประกันภัยฯ เพื่อแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ 2 แบบ ดังนี้
2.2.1 นำเอกสารมายื่นด้วยตนเองที่บริษัท ประกันภัยฯ
2.2.2 นำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ มายังบริษัท ประกันภัยฯ ฝ่ายสินไหมทั่วไป
2.3 เมื่อบริษัท ประกันภัยฯ พิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหมผ่านหน่วยงาน ต้นสังกัด หรือโอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย
เอกสารประกอบการเรียกร้องสำหรับการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล
1.1 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ)
1.2 ใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ)
1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เอาประกันภัย
1.4 สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจเกี่ยวกับคดี (กรณีถูกทำร้ายร่างกาย)
1.5 ใบแจ้งการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือ หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
2. กรณีทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะ และสายตา
2.1 ใบรับรองแพทย์ต้นฉบับ หรือสำเนา กรณีที่มีการทำประกันภัยหลายแห่ง
2.2 หนังสือรับรองความพิการ (ถ้ามี)
2.3 สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เอาประกันภัย
2.5 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย
2.6 ใบแจ้งการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือ หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
3. กรณีเสียชีวิต
3.1 สำเนาใบมรณะบัตร
3.2 สำเนาใบชันสูตรพลิกศพ หรือ สำเนาหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล
3.3 สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์
3.4 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์
3.5 สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจเกี่ยวกับคดี
3.6 ใบแจ้งการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือ หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
สินไหมประกันสุขภาพ
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการเรียกร้อง เมื่อเกิดเหตุความเสียหาย
รีบดำเนินการแจ้งความเสียหายให้บริษัท ประกันภัยฯ ทราบ ทันที ดังนี้
– แจ้งทาง โทรศัพท์ , โทรสาร , อีเมล์ หรือ แจ้งผ่าน เว็บไซต์ของทางบริษัท ฯ
– ระบุชื่อของท่าน หรือ บุคคลผู้ประสานงานที่ต้องการให้บริษัท ประกันภัยฯ ติดต่อ
1. กรณีทำประกันภัยผ่านหน่วยงาน(Group Personal Accident Insurance)
1.1 ผู้เอาประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท ประกันภัยฯ จากการแสดงบัตรประกันภัย โดยค่ารักษาพยาบาลที่เกินสิทธิ์ โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยทันที
1.2 หากผู้เอาประกันภัย สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ให้นำหลักฐานไปยื่นที่หน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท ประกันภัยฯ
1.3 เมื่อบริษัท ประกันภัยฯ พิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหมผ่านหน่วยงานต้นสังกัด หรือ โอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย
2. กรณีทำประกันภัยส่วนตัว (Individual Personal Accident Insurance)
2.1 ผู้เอาประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท ประกันภัยฯ จากการแสดงบัตรประกันภัย โดยค่ารักษาพยาบาลที่เกินสิทธิ์ โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยทันที
2.2 หากผู้เอาประกันภัย สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ให้นำหลักฐานส่งให้บริษัท ประกันภัยฯ เพื่อแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้ 2 แบบ ดังนี้
2.2.1 นำเอกสารมายื่นด้วยตนเองที่บริษัท ประกันภัยฯ
2.2.2 นำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ มายังบริษัท ประกันภัยฯ ฝ่ายสินไหมทั่วไป
2.3 เมื่อบริษัท ประกันภัยฯ พิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหมผ่านหน่วยงาน ต้นสังกัด หรือ โอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย
เอกสารประกอบการเรียกร้องสำหรับการประกันภัยสุขภาพ ประกอบไปด้วย
1. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ)
2. ใบรับรองแพทย์ (ฉบับ)
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เอาประกันภัย
4. ใบแจ้งการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือหนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน